ไตรโคเดอร์ม่า ขนาด 100 กรัม ช่วยป้องกัน และ กำจัดโรคพืช ดังนี้ - โรคเมล็ดเน่า โรคเน่าระดับดิน(โรคกล้ายุบ) โรคเน่าคอดิน ในพืชทุกชนิด - โรครากเน่า หัวหรือแง่งเน่า โรคโคนเน่า ในพืชทุกชนิด - โรครากเน่าโคนเน่า ในทุเรียน มะนาว พืชตระกูลส้ม สับปะรด และ ไม้ผลอื่นๆทุกชนิด - โรครากเน่าโคนเน่า ในแตงกวา พืชตระกูลแตง พริก พริกไทย และในพืชผักทุกชนิด - โรครากเน่าของพืชผักสลัดและผักกินใบต่างๆ ที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์ - โรคแอนแทรคโนส ในมะม่วงและพริก ทั้งก่อนและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต - โรคดอกเน่าของต้นกล้า ในพืชตระกูลแตง และพืชอื่นๆ - โรคยอดเน่า ในพืชตระกูลแตง และพืชอื่นๆ - โรคผลเน่า ในพืชทุกชนิด - โรคราที่ทำให้ผลร่วง ดอกร่วง ในไม้ผล และพืชอื่นๆ - โรคดอกร่วงในทุเรียน ลำไย และ พืชอื่นๆ - โรคเน่า ในไม้ผล พืชผักต่างๆ เช่น ทุเรียน มะม่วง แตงโม ลำไย ส้ม มะนาว พริก พริกไทย แตงกวา แตงร้าน มะเขือเทศ ฯลฯ - โรคเน่าเข้าไส้ ในกล้วย และ ในพืชทุกชนิด - โรคราน้ำค้าง ในพืชทุกชนิด - โรคราแป้ง ในพืชทุกชนิด - โรคราเม็ดผักกาด - โรคราดำ ของมะเขือเทศ และ พืชทุกชนิด - โรคกล้าไหม้ ในพืชทุกชนิด - โรคลำต้นไหม้ ของหน่อไม้ฝรั่ง ในพืชทุกชนิด - โรคเหี่ยว ในพืชผักต่างๆ - โรคเหี่ยว ในไม้ดอก - โรคใบปื้นเหลือง - โรคดอกสนิมของกล้วยไม้ - การแช่เมล็ดข้าวเปลือก ก่อนใช้หว่าน ลงในนาข้าว ช่วยลดการเกิดโรคเมล็ดด่างเมล็ด ลีบ ของข้าวที่เกิดจาก การเข้าทำลายของเชื้อราหลายชนิด - ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์และน้ำหนักเมล็ดข้าว อีกทั้งยังเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ด้วย - ไตรโคเดอร์ม่า สามารถใช้ได้ในพืชทุกชนิด !!! ยกเว้นพืชตระกูลเห็ด !!! วิธีใช้ ไตรโคเดอร์ม่า - อัตราใช้ 50-100 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดโคนต้น ราดดิน หรือ ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น --->>> กรณีใช้ราดดิน ราดโคนต้น : ใช้ไตรโคเดอร์ม่า ผสมน้ำ กวนให้เข้ากัน แล้วสามารถใช้ราดดิน ราดโคนต้นได้เลย --->>> กรณีใช้ฉีดพ่นทั่วทั้งต้น : ใช้ไตรโคเดอร์ม่า ผสมน้ำ กวนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วกรองเอากากออก สามารถใช้ส่วนที่เป็นน้ำใสๆ ไปฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นได้เลย (ส่วนกากที่เหลือ สามารถนำไปใส่ไว้ที่โคนต้น จะช่วยแก้รากเน่าโคนเน่าได้ อีกทั้งยัง เป็นปุ๋ยบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ได้อีกด้วย) - อัตราใช้ 1 กิโลกรัม ผสม ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก 50 กิโลกรัม - อัตราใช้ 100 กรัม ต่อ สารละลาย 200 ลิตร สำหรับพืชผักระบบไฮโดรโพนิกส์ - ควรใช้ ไตรโคเดอร์มา ซ้ำ อย่างน้อยเดือนละ 2-4 ครั้ง เพื่อป้องกัน และรักษาไม่ให้เกิดโรคพืชซ้ำขึ้นมาอีก