Product description
คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน เข็มชัย ชุติวงศ์
ผู้เขียน : เข็มชัย ชุติวงศ์
ปีที่พิมพ์ : ครั้งที่ 11 : พฤศจิกายน 2565
คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยานเล่มนี้ ผู้เขียนรวบรวมจากคำบรรยายวิชากฎหมาย
ลักษณะพยาน ซึ่งผู้เขียนเป็นผู้สอนที่คณะนิติศาสตร์ จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พศ
๒๕๒๓ จนถึงปัจจุบัน ผู้เขียนได้เคยพิมพ์ในรูปแผ่นปลิวเพื่อให้นิสิตใช้เรียน ต่อมาทางศูนย์
บริการเอกสารและวิซาการ กองวิชาการ กรมอัยการ ได้แสดงความประสงค์จะขอพิมพ์คำบรรยาย
นี้เป็นหนังสือ ผู้เขียนจึงปรับปรุงคำบรรยายที่มีอยู่เดิม และจัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่มนี้ ซึ่งผู้เขียน
พยายามเขียนให้สมบูรณ์ตามลักษณะเนื้อหาวิชาของกฎหมายลักษณะพยานเท่าที่มีการสอนกันอยู่
ในคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
ผู้เขียนเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นโดยความมุ่งหมายจะให้มีลักษณะเป็นตำราประกอบการ
เรียนของนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรี และนักศึกษาของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง
เนติบัณฑิตยสภา จึงเน้นหนักในเนื้อหาที่เป็นกฎหมายลักษณะพยานของไทย การอ้างอิงกฎหมาย
ต่างประเทศจะทำเฉพาะในเรื่องที่บัญญัติไว้ในกฎหมายไทยไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ การอ้างอิงคำ
พิพากษาฎีกามาเป็นตัวอย่างนั้น ผู้เขียนคัดเลือกมาเฉพาะดำพิพากษาฎีกาที่สำคัญ และช่วยในการ
ทำความเข้าใจความหมายของตัวบทกฎหมายเท่านั้น มิได้รวบรวมคำพิพากษาฎีกาไว้ทุกฉบับ ทั้งนี้
เพราะผู้เขียนเห็นว่าหนังสือที่รวบรวมดำพิพากษาฎีกาในวิชานี้มีอยู่จำนวนมาก นักศึกษาสามารถ
ในโอกาสที่หนังสือเล่มนี้ได้สำเร็จเป็นรูปเล่มโดยสมบูรณ์ ผู้เขียนต้องขอกราบรำลึกถึง
พระคุณของท่านศาสตราจารย์โชค จารุจินดา ผู้ประสิทธิประสาทวิชากฎหมายลักษณะพยานให้แก่
ผู้เขียน ขอกราบขอบพระคุณท่านสุจินต์ ทิมสุวรรณ อธิบดีกรมอัยการ ที่ให้การสนับสนุนและ
อนุมัติให้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ และขอขอบพระคุณคุณจิตติ เจริญฉ่ำ ผู้อำนวยการศูนย์บริการ
เอกสารและวิชาการ กองวิชซาการ กรมอัยการ ที่ช่วยดูแลและกำกับการพิมพ์หนังสือเล่มนี้จนสำเร็จ
เป็นรูปเล่มดังที่เห็นอยู่นี้ หากมีข้อผิดพลาดประการใดในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนขอรับความผิดนั้น
แต่เพียงผู้เดียว และขออภัยท่านผู้อ่านทั้งหลายไว้ ณ ที่นี้ด้วย
บทที่ ข้อความทั่วไปเกี่ยวกับพยานหลักหลักฐาน
๓. ความเป็นมาของกฎหมายลักษณะพยานของไทย
บทที่ 2 ประเด็นแห่งคดีที่เกี่ยวข้องกับพยานหลักฐาน
๑. ข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป
๒. ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้
๓. ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับกันหรือถือว่ารับกันในศาล
บทที่ ๓ ประเด็นข้อพิพาทและภาระการพิสูจน์
- ความหมายของภาระการพิสูจน์
- การกำหนดภาระการพิสูจน์ในคดีแพ่ง
- การกำหนดภาระการพิสูจน์ในคดีอาญา
บทที่ วามสัมพันธ์ระหว่างพยานหลักฐานกับประเด็นข้อ
๑. ความสัมพันธ์ระหว่างคำคู่ความกับการสืบพยาน
ก. การนำสืบข้อเท็จจริงตามฟ้องของโจทก์
ข. การนำสืบข้อเท็จจริงตามคำให้การของจำเลย
ค. การนำสืบหักล้างของฝ่ายโจทก์
ง. การนำสืบหักล้างของฝ่ายจำเลย
๒.พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาท
ก. ข้อเท็จจริงที่เป็นบทนำหรือหลังฉากของข้อเท็จจริงในประเด็น
ข. ข้อเท็จจริงที่นำสืบเพื่อหักล้างข้ออ้างของอีกฝ่ายหนึ่ง
ค. ข้อเท็จจริงที่นำสืบเพื่อประกอบดุลพินิจของศาลในการรับฟังพยาน
ง. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิถีทางธุรกิจ
จ. ข้อเท็จจริงที่แสดงถึงระดับมาตรฐาน
ฉ. ข้อเท็จจริงที่แสดงถึงโอกาส
ช. ข้อเท็จจริงที่แสดงถึงมูลเหตุจูงใจ
ซ. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเจตนาของคู่ความ
ฌ. ข้อเท็จจริงที่เหมือนกันหรือคล้ายกัน
ญ. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนิสัยความประพฤติกฎข้อเท็จจริงที่มีผลกระทบกระเทือนถึงการชั่งน้ำหนักคำพยาน
บทที่ ๕ การรับฟังพยานหลักฐานโดยพิเคราะห์ถึงสภาพของพยาน
บหที่ ๖ การรับฟังพยานหลักฐานโดยพิเคราะห์ถึงความน่าเชื่อถือ
หลักการห้ามรับฟังพยานบอกเล่า
ข้อยกเว้นการห้ามรับฟังพยานบอกเล่า
การชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่า
บทที่ ๗ การรับฟังพยานหลักฐานโดยพิเคราะห์ถึงสภาพแห่งข้อเท็จจริงที่จะสืบ
๑. หลักเกณฑ์การห้ามนำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารตาม ป.ว.พ. มาตรา ๙๔
๒. เนื้อหาสาระของข้อห้าม ตามมาตรา ๙๔
ก. ห้ามนำพยานบุคคลมาสืบแทนพยานเอกสาร
ข. ห้ามนำพยานบุคคลมาสืบเพิ่มเติม ตัดทอน เปลี่ยนแปลงแก้ไขพยานเอกสาร
๓. ข้อยกเว้น ตาม ป.ว.พ. มาตรา ๙๔
ก. กรณีต้นฉบับเอกสารสูญหายหรือถูกทำลาย
ข. นำสืบว่าเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องแท้จริง
ค. นำสืบว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุในเอกสารไม่สมบูรณ์
ง. นำสืบว่าอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด
บทที่ ข การรับฟังพยานหลักฐานโดยพิเคราะห์ถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลย
๑. การรับฟังพยานหลักฐานซึ่งเกิดขึ้นหรือได้มาจากกระบวนการอันมิชอบ
๒. การรับฟังพยานบุดคลที่เป็นผู้ร่วมกระทำผิดหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิด
๓. การรับฟังพยานหลักฐานของฝ่ายจำเลยเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้แก่ฝ่ายโจทก์
บทที่ ๙ การรับฟังพยานหลักฐานโดยพิเคราะห์ถึงระเบียบวิธีพิจารณาความ
๓. การปิดอากรแสตมป์บนพยานเอกสาร
บทที่ ๑๐ วิธีการสืบพยานในศาล
การสืบพยานนอกศาลในคดีแพ่ง
(๓) การสืบพยานโดยระบบประชุมทางจอภาพ
(๔) การสืบพยานที่อยู่ในต่างประเทศ
การสืบพยานนอกศาลในคดีอาญา
(๓) การสืบพยานโดยระบบประชุมทางจอภาพ
(๔) การสืบพยานที่อยู่ในต่างประเทศ
๒. การเบิกความของพยานบุคคลในศาล
ง. การนำสืบบันทึกถ้อยคำของพยานแทนการซักถาม
๕. วิธีสืบพยานผู้เชี่ยวชาญ
๖. ข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามมิให้นำสืบ
๒. ความลับที่ได้มาโดยอาชีพหรือหน้าที่
๓. การประดิษฐ์หรืองานที่กฎหมายไมให้เปิดเผย
๗. วิธีการพิเศษเกี่ยวกับการสืบพยาน
๑. การรับรองข้อเท็จจริงบางข้อก่อนสืบพยาน
๓. การให้โอกาสคู่ความทุกฝ่ายที่จะใช้สิทธิเกี่ยวกับการสืบพยาน
๔. ความรับผิดพิเศษเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมในการสืบพยาน
๘. อำนาจทั่วไปของศาลเกี่ยวกับการสืบพยาน
๙. มาตรการพิเศษเพื่อให้การสืบพยานสะดวกและรวดเร็ว
บทที่ ๑๑ การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
๑. การชั่งน้ำหนักพยานบุคคล
๒. การชั่งน้ำหนักพยานผู้เชี่ยวชาญ
๓. การชั่งน้ำหนักพยานเอกสาร
๔. การชั่งน้ำหนักพยานวัตถุ