Product description
หนังสือเล่มนี้เป็นผลผลิตของการเก็บข้อมูลอันยาวนานแบบลงไปขลุกกันถึงลูกถึงคนจริงๆ ข้อมูลที่รวบรวมมามีทั้งข้อมูลภาษี เงินเดือนรายได้ประชาชาติ ความมั่งคั่ง ผลตอบแทนรายปีของทุน ทั้งหมดครอบคลุมเวลาสามศตวรรษ (ศตวรรษที่ 18 ต้นศตวรรษที่ 21) และมากกว่า 20 ประเทศ เมื่อหาข้อมูลเหล่านี้ได้แล้ว จึงได้ทำการวิเคราะห์ ค้นหาแบบแผนทางประวัติศาสตร์ หาภาพรวมที่แท้จริงว่า มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ และ ถ้ามันยังเป็นอย่างนี้ต่อไป อนาคตจะเป็นอย่างไร?
โทมัส พิเก็ตตี เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เขามองโลกตามความเป็นจริงว่าความเหลื่อมล้ำนั้นเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ และไม่อาจแก้ปัญหาด้วยการให้ทุกคน มี เท่าๆ กันหรือเหมือนๆ กันได้ อย่างไรก็ตาม เขาก็มองว่าสังคมควรมีคุณธรรมพื้นฐานบางประการ ดังนั้นความไม่เท่ากันจึงควรจะดำรงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อมัน มีประโยชน์ต่อส่วนรวม เท่านั้น
ทำไมต้องอ่านหนังสือเล่มนี้ ก็เพราะปัญหาความเหลื่อมล้ำ ได้ค่อยๆ ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างเงียบๆ ค่อยๆ รุกคืบ คอยกัดกร่อน บั่นทอนความก้าวหน้า ความสำเร็จในการพัฒนาของทุกๆ ประเทศ โดย ทุน มีบทบาทสำคัญ เป็นหัวใจในกลไกที่ทำให้ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมกว้างขึ้น กลายเป็นชนวนที่นำมาซึ่งเป็นความขัดแย้งเผชิญหน้าระหว่างชนชั้น ความไม่พอใจระหว่างคนจน คนรวย ระหว่างคนชนบท คนเมือง ระหว่างลูกจ้าง นายจ้าง ซึ่งท้ายสุดอาจนำมาซึ่งความล้มเหลวของระบบทุนนิยม และหากไม่ระวังก็จะสามารถปะทุลุกลามกระทบต่อประชาธิปไตยและระบอบการปกครองในวงกว้างได้
หนังสือเล่มนี้จะให้ความรู้และข้อเท็จจริงด้านเศรษฐศาสตร์ ทั้งยังสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่มีปัญหาและไม่ขยายตัว ซึ่งปัญหานี้ทำให้การเติบโตของรายได้ของคนส่วนใหญ่มีข้อจำกัด ขณะที่กลุ่มคนร่ำรวยที่ได้รับผลประโยชน์จากทุนก็ยิ่งร่ำรวยมากยิ่งขึ้น การอ่านหนังสือเล่มนี้ นอกจากจะช่วยให้เราเข้าใจเรื่องความเหลื่อมล้ำแล้ว ยังเป็นการเปิดโลกใหม่ เหมือนพาเราไปดูโลกที่เราอยู่ในมุมสูงขึ้น ให้เราเข้าใจเรื่องเงินเรื่องทองและความเป็นไปในโลกนี้มากขึ้น พูดอีกอย่างก็คือ พิเก็ตตีประสบความสำเร็จในการทำให้เศรษฐศาสตร์ไม่ใช่เพียงเรื่องทฤษฎีชั้นสูงเข้าใจยาก แต่เป็นเรื่องปากท้องรอบตัวเราจริงๆ นับเป็นหนังสือที่ควรค่าแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง!
2. การเติบโต : ภาพมายาและความจริง
ภาคที่ 2 : พลวัตอัตราส่วนทุน/รายได้
4. จากยุโรปเก่าสู่โลกใหม่
5. อัตราส่วนทุน/รายได้ในระยะยาว
6. สัดส่วนทุน-แรงงานในศตวรรษที่ 21
ภาคที่ 3 : โครงสร้างของความเหลื่อมล้ำ
7. ความเหลื่อมล้ำกับการกระจุกตัว : ลักษณะเบื้องต้น
9. ความเหลื่อมล้ำในแง่รายได้จากแรงงาน
10. ความเหลื่อมล้ำในแง่กรรมสิทธิ์ทุน
11. เมื่อความสามารถปะทะกับมรดกในระยะยาว
12. ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งระดับโลกในศตวรรษที่ 21
ภาคที่ 4 : การจัดระเบียบทุนในศตวรรษที่ 21
13. รัฐสวัสดิการในศตวรรษที่ 21
14. ทบทวนภาษีเงินได้ในอัตราก้าวหน้า
15. การเก็บภาษีทุนในระดับโลก
16. ประเด็นเรื่องหนี้สาธารณะ
หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่ทรงคุณค่ายิ่ง ที่เมื่อได้อ่านแล้วจะเกิดมุมมองใหม่ เกิดแรงบันดาลใจในการต่อสู้แก้ไขหนึ่งปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด ซึ่งทุกประเทศทั่วโลกรวมถึงไทยกำลังเผชิญอยู่ ก็คือ "ปัญหาของความเหลื่อมล้ำ" ทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงทำให้เกิดความเข้าใจใหม่ในบทบาทของ "ทุน" ในระบบเศรษฐกิจยุคศตวรรษที่ 21 -- ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล
Capital in the Twenty-First Century