Product description
หนังสือคู่มือร่างคำฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญา (ภาคทฤษฎี) สำหรับผู้สอบตั๋วทนายความและทนายความ ตามแนวข้อสอบของสภาทนายความ พิเชฐ โพธิวิจิตร
ผู้แต่ง : พิเชฐ โพธิวิจิตร
ปีที่พิมพ์: ครั้งที่ 9 / 2568
อ่านคำนำนี้จบแล้วขอให้ท่านพลิกไปอ่านคำแนะนำครั้งที่ 6 ท้ายคำนำ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
สำหรับการสอบตั๋วทนายความของท่าน
หนังสือเล่มนี้พิมพ์มาแล้วรวมทั้งหมด ๕ ครั้งเดิมใช้ชื่อว่า "หนังสือคู่มือร่างคำฟ้องคดีแพ่งและคดี
อาญา" (สำหรับผู้สอบตั๋วทนายภาคทฤษฎี)
เนื่องจากชื่อเดิมค่อนข้างยาวเรียกยากในการพิมพ์ครั้งที่ ๖ นี้ จึงเปลี่ยนชื่อใหมให้สั้นกระชับและ
เรียกง่ายๆ ว่า "เอกชเรย์ (๑) ตั๋วทนาย คู่มือสอบตั๋วทนายความภาคทฤษฎี"
นอกจาก"เอกชเรย์ (๑) ตั๋วทนาย คู่มือสอบตั๋วทนายความภาคทฤษฎี" แล้ว ยังมีหนังสือของ
ผู้เขียนที่จะพิมพ์ครั้งใหม่ออกมาในเร็วๆ นี้อีก ๒ เล่ม จะเปลี่ยนชื่อใหม่เชนเดียวกันคือ
"เอกชเรย์ (๒) ตั๋วทนาย คู่มือสอบตั๋วทนายความภาคปฏิบัติ" และ
"เอ็กชเรย์ (๓) ตั๋วทนาย คู่มือสอบตั๋วทนายความสำหรับข้อสอบปรนัยและมรรยาททนายความ"
ชื่อใหม่นอกจากจะเรียกง่ายแล้วยังสื่อความหมายว่าเป็นหนังสือที่จะส่องให้เห็นเนื้อในตับไตไส้พุง
ของข้อสอบตั๋วทนายความอย่างทะลุปรุโปร่ง เหมือนเครื่องเอกเรย์คนป่วยในโรงพยาบาล ทำให้ผู้สอบตั๋ว
ทนายความเข้าใจข้อสอบของสภาทนายความได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งทุกแง่ทุกมุมสามารถสอบผ่านได้ไม่ยาก
มพ์ครั้งที่ มีกาเพิ่มเติมตัวอย่างข้อสอบใหม่กหนึ่งข้อคือแนวข้อสอบภาคทฤษฎี
๕๕/๒๕๖๓ ร่างฟ้องเรื่องละเมิด หลอกลวงให้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินประกันหนี้ซึ่งน่าสนใจมาก
(ดูภาคที่ ๑ บทที่ ๑๐ กลุ่มที่ ๗ คำถามข้อที่ ๘)
นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่แก้ไขใหม่เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๔
โดยลดตอกเบี้ยที่ไม่ได้กำหนดอัตราไว้จากอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีเหลืออัตราร้อยละ๓ ต่อปี ตาม
ป.พ.พ.มาตรา ๗ วรรคหนึ่ง และลดดอกเบี้ยผิดนัดจากอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีเหลืออัตราร้อยละ ๕ ต่อปี
ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๗ วรรคหนึ่งประกอบมาตรา ๒๒๔ วรรคหนี่งดังนั้นในการคิดดอกเบี้ยที่ไม่ได้กำหนด
อัตราไว้หรือดอกเบี้ยผิดนัดที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๔ จึงคิดได้ในอัตราเดิมคืออัตราร้อยละ
๗.๕ ต่อปี แต่ดอกเบี้ยดังกล่าวที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไปต้องคิดในอัตราใหม่คือ
อัตราร้อยละ ๓ ต่อปีหรือร้อยละ ๕ ต่อปีเท่านั้น
การคิดดอกเบี้ยอัตราใหม่มีความยุ่งยากพอสมควร จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอบจะต้องทำความเข้าใจ
ให้ถ่องแท้เพราะต้องใช้ในการตอบข้อสอบแล้ว
สุดท้ายได้มีการแก้ไขข้อผิดพลาดบกพร่องของหนังสือเล่มนี้อีกหลายแห่งซึ่งทำให้หนังสือเล่มนี้มี
ความถูกต้องสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ผู้เขียนเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะอำนวยประโยชน์สำหรับผู้สอบตั๋วทนายความทุกท่าน
ช่วยให้ท่านสอบผ่านดังตั้งใจและได้ประกอบวิชาชีพทนายความอย่างภาคภูมิใจกันทุกคน
ภาคที่ ๑ การร่างคำฟ้องคดีแพ่ง
ก. คดีมีข้อพิพาท (คดีสองฝ่าย)
บทที่ ๑ ส่วนประกอบของคำฟ้อง
แผนผังแสดงส่วนประกอบของคำฟ้อง
บทที่ ๒ หลักการบรรยายคำฟ้อง
บทที่ ๓ การบรรยายสถานะโจทก์จำเลย
การมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทน
การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิในทรัพย์สิน
การดำเนินคดีของบิดามารดากับบุตร
การดำเนินคดีโจทก์จำเลยหลายคน
หุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดกับห้างๆ
นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้าง
ตัวการต้องร่วมรับผิดกับตัวแทน
บิดามารดาครูบาอาจารย์ต้องร่วมรับผิดกับผู้เยาว์
สามีและภริยาต้องร่วมรับผิดในหนี้ร่วม
ผู้ค้ำประกัน ผู้จำนองต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ชั้นต้น
ผู้ลงลายมือชื่อในเช็คทุกคนต้องร่วมรับผิดตามเช็ค
คำถามเรื่องสถานะโจทก์-จำเลย
บทที่ ๔ การบรรยายนิติสัมพันธ์
การบรรยายคำฟ้องสัญญากู้ยืม
การบรรยายคำฟ้องสัญญาค้ำประกัน
การบรรยายคำฟ้องสัญญาจำนอง
การบรรยายคำฟ้องสัญญาซื้อขาย
การบรรยายคำฟ้องสัญญาเช่าทรัพย์
การบรรยายคำฟ้องสัญญาหมั้น
การบรรยายโต้แย้งสิทธิตามสัญญากู้ยืม
การบรรยายโต้แย้งสิทธิตามสัญญาซื้อขาย
การบรรยายโต้แย้งสิทธิตามสัญญาเช่าทรัพย์
การบรรยายโต้แย้งสิทธิฐานละเมิด
การบรรยายโต้แย้งสิทธิแบ่งมรดก
บทที่ ๖ การบรรยายความเสียหาย
บทที่ ๗ การบรรยายการทวงถาม
บทที่ ๘ การบรรยายคำลงท้าย
บทที่ ๙ การบรรยายคำขอท้ายฟ้อง
ตัวอย่างการบรรยายคำขอท้ายฟ้อง
กลุ่มที่ ๑ กู้ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ
กลุ่มที่ ๓ ฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
กลุ่มที่ ๕ ฟ้องขอให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
กลุ่มที่ ๕ ฟ้องขอให้ส่งมอบสังหาริมทรัพย์
กลุ่มที่ ๖ ฟ้องผิดสัญญา เลิกสัญญา
กลุ่มที่ ๘ ฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
กลุ่มที่ ๙ ฟ้องภาระจำยอม ทางจำเป็น
กลุ่มที่ ๑๑ ฟ้องหมิ่นประมาท
ข. คดีไม่มีข้อพิพาท (คดีฝ่ายเดียว)
คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
คำร้องขอให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถและตั้งผู้พิทักษ์
คำร้องขอให้เป็นผู้ไร้ความสามารถและตั้งผู้อนุบาล
คำร้องขอให้ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์
บทที่ ๑๑ เทคนิคการตอบข้อสอบ
ภาคที่ ๒ การร่างคำฟ้องคดีอาญา
แผนผังแสดงส่วนประกอบคำฟ้องคดีอาญา
บทที่ ๒ หลักการบรรยายคำฟ้อง
บทที่ ๓ การบรรยายสถานะโจทก์จำเลย
บทที่ ๔ การบรรยายเวลาเกิดเหตุ
บทที่ ๕ การบรรยายการกระทำผิด
รูปแบบการบรรยายฟ้องคดีอาญา
ตัวอย่างการบรรยายฟ้องคดีอาญารูปแบบต่าง ๆ
บทที่ ๖ การบรรยายบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
การบรรยายเกี่ยวกับสิ่งของ
บทที่ ๗ การบรรยายสถานที่เกิดเหตุ
บทที่ ๘ การบรรยายคำร้องทุกข์
บทที่ ๙ การบรรยายคำลงท้าย
บทที่ ๑๐ การบรรยายคำขอท้ายฟ้อง
บทที่ ๑๑ ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง
บทที่ ๑๒ ตัวอย่างการบรรยายคำฟ้องคดีอาญา
กลุ่มที่ ๑ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
กลุ่มที่ ๒ ความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย
กลุ่มที่ ๓ ความผิดเกี่ยวกับเพศ
กลุ่มที่ ๔ ความผิดฐานประมาท
ภาคที่ ๓ การร่างหนังสือประเภทต่าง ๆ
กลุ่มที่ ๖ ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน
หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง
หนังสือแจ้งให้ขนย้ายทรัพย์สิน
ภาคที่ ๔ การร่างหนังสือสัญญา
หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
หนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล
หนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล
ภาคที่ ๕ การร่างคำขอ คำแถลง
บทที่ ๑ การร่างคำขอ คำแถลงคดีแพ่ง
แผนผังแสดงขั้นตอนการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น
คำร้องขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้โจทก์ชนะคดีโดยขาดนัด
คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง
คำร้องขอเรียกคู่ความเข้ามาแทนที่คู่ความผู้มรณะ
คำร้องขอให้ศาลออกคำสั่งเรียกเอกสาร
คำร้องขอหมายเรียกพยานบุคคล
ภาคที่ ๓ การร่างหนังสือประเภทต่าง ๆ
กลุ่มที่ ๖ ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน
หนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง
หนังสือแจ้งให้ขนย้ายทรัพย์สิน
ภาคที่ ๔ การร่างหนังสือสัญญา
หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
หนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล
หนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล
ภาคที่ ๕ การร่างคำขอ คำแถลง
บทที่ ๑ การร่างคำขอ คำแถลงคดีแพ่ง
แผนผังแสดงขั้นตอนการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น
คำร้องขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้โจทก์ชนะคดีโดยขาดนัด
คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง
คำร้องขอเรียกคู่ความเข้ามาแทนที่คู่ความผู้มรณะ
คำร้องขอให้ศาลออกคำสั่งเรียกเอกสาร
คำร้องขอหมายเรียกพยานบุคคล