• เป็นผงบอเรตละเอียดที่สามารถละลายน้ำได้ง่าย เหมาะสำหรับการฉีดพ่นให้สารอาหารพืชทางใบ
• มีการละลายที่สูงมากและมีค่า pH เป็นกลางจึงเหมาะสำหรับการใช้งานทางใบ มันถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายมากทั่วโลกสำหรับใบผลไม้ผักและน้ำมันเมล็ดพืชอันเนื่องมาจากการละลายได้ง่ายในน้ำเย็นและพีเอชที่เป็นกลาง
• เป็นโบรอนที่สามารถนำมาใช้ได้หลากหลายรูปแบบ สามารถผสมน้ำใช้โดยตรงหรือผสมกับปุ๋ยน้ำอื่น ๆ ยาฆ่าแมลงและยากำจัดศัตรูพืชที่ฉีดพ่นทางใบ
•แหล่งผลิต: มาเลเซีย, อินเดีย
•การขาดธาตุโบรอนในปาล์มน้ำมัน
•โบรอนเป็นธาตุอาหารเสริมที่มักพบว่าขาดบ่อยที่สุดในปาล์มน้ำมันที่ปลูกในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย การขาดธาตุโบรอนจะมีผลให้ใบมีรูปร่างผิดปกติ และเจริญเติบโตช้าลง ทำให้ผลผลิตลดลง
•โบรอน จะทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการต่างๆของพืช เช่น การแบ่งเซลล์ การติดดอกสร้างผลและผนังเซลล์ ที่สำคัญที่สุด คือสร้างความสมบูรณ์ ลำเบียงน้ำตาล และดูดซึมแคลเซี่ยม
•บทบาทของโบรอนมีดังนี้
•1.ต้นปาล์มมีโมเลกุลของธาตุโบรอน อันเป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ปฐมภูมิ จึงทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง และมีความยืดหยุ่น
•2. ช่วยให้เยื่อหุ้มเซลล์ และเซลล์หุ้มออแกเนลมีโครงสร้างที่สมบูรณ์ และทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม
•3.โบรอนช่วยกระตุ้นกิจกรรมของ H+-ATPase ในการสร้างเนื้อเยื่อ และส่งเสริมการดูดซึมธาตุอาหารต่างๆ
•4.ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายของน้ำตาลและอิทรียสารเล็กๆทางโฟเอ้ม ช่วยให้ยอดอ่อน รากอ่อน ดอกผลเจริญ
•5.ช่วยในการเจริญเติบโตในระยะเจริญพันธุ์ ทำให้ดอกและละอองเรณูสมบูรณ์ ยอดเกสรตัวเมียพร้อมรับละอองเรณู นอกจากนี้ยังทำให้ได้เมล็ดที่สมบูรณ์และมีความงอกงามดี
•6.การผสมเกสรดีขึ้น เพราะมีแมลงช่วยผสมเกสร ทำให้ติดผลมากขึ้น
•อาการขาดธาตุโบรอน ในปาล์น้ำมัน
•ในแปลงเพาะกล้า จะพบอาการใบปาล์มจะย่น และมีลักษณะหงิกงอ คล้ายรูปตะขอ
•ในสวนปาล์ม จะพบอาการขาดธาตุโบรอนในปาล์มน้ำมันดังนี้
•ทางใบกลม เป็นอาการเริ่มต้นของการขาดธาตุโบรอนที่เล็กน้อย และไม่รุนแรงอาการขาดโบรอนที่รุนแรง: .ใบย่อยหยักงอเป็นตะขอใบย่อยแตก ก้านใบย่อยฉีกขาดจากแผ่นใบและแทงออกมาระหว่างแผ่นใบ เป็นอาการขาดโบรอนอย่างรุนแรงปลายใบแข็งตั้งชัน เป็นอาการที่แสดงออกในระยะระหว่างใบหยักเป็นตะขอใบมีลักษณะเหมือนก้างปลา ใบย่อยแต่ละใบมีปลายใบรวมกันเป็นเกลียวคล้ายเส้นใยเชือก ทางใบกระจายตัวออกคล้ายก้างปลา (ขาดโบรอนอย่างรุนแรง)ใบเล็ก ใบย่อยมีลักษณะปลายกุด หรือด้วน รวมกันเป็นกลุ่มก้อนของแต่ละข้างของก้านใบ เป็นอาการขาดโบรอนอย่างรุนแรง
•การป้องกัน และ รักษาเกี่ยวกับอาการขาดโบรอน
•ในแปลงเพาะกล้า