Product description
ชื่อ = คู่มือการเขียนคำให้การ คดีอาญาทุจริต และ ประพฤติมิชอบ/คดีปกครอง/ป.ช.ช (สำหรับท้องถิ่น)
ผู้เขียน = ทนายวาสนา สระทองหลาง
ทยเข้าสู่ยุดพัฒนาอย่างเต็มตัว องค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป็นหน่วยงานที่
กับประชาชนมากที่สุด และในอนาคตสังคมประเทศไทยจะต้องพัฒนา โดยผ่านองค์การบริหารส่วนตำบล
เป็นสำคัญ ซึ่งสมาคมและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ได้ร่วมกันตั้งปฏิญาณ จะเป็นเสาเข็มให้กับ
สังคม เพราะเราเชื่อว่าหากประชาชนในฐานราก เข้มแข็ง ประเทศชาติจะเข้มแข็งและมั่นคง อย่างแท้จริง
เท่าที่ผ่านมา นายก อบต. และเจ้าหน้าที่บริหารท้องถิ่น อบต. มีปัญหาเรื่องการทำคำให้การไม่
เป็นรูปแบบ หรือครบถ้วน จึงเกิดปัญหาตามมา ในเรื่องที่ต้องรับผิดทางอาญา เรื่อง ป.ป.ช.และคดี
ปกครองอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาเบื้องตัน และลดคดีความขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรมเนื่องจากว่า บกพร่อง
จากคำให้การชั้นสอบสวน หรือความเข้าใจในกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง ซึ่งกฎหมายปกครอง และ
กฎหมายทุจริตและประพฤติมิชอบ ผ่านระบบ ป.ป.ช.หรือ กระบวนการไต่สวน แบบฉบับกฎหมายใหม่
จึงเป็นปัญหากับผู้บริหารท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเป็นอย่างมาก
เจ้าหน้าที่หรือผู้บริหารท้องถิ่น ถูกกล่าวหาและส่งขึ้นฟ้องต่อศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิ
ชอบมากกว่า ๔,0ㆍ0คดี ส่วนใหญ่เกิดจากความบกพร่องหรือความไม่เข้าใจในกระบวนการข้อเท็จจริง
หรือให้การต่อองค์กรอิสระ หรือ ป.ป.ช. ศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ เป็นระบบได่สวน ซึ่งใน
กฎหมายกำหนดให้ยึดถือสำนวนของ ป.ป.ช. เป็นหลัก คำให้การในการสอบสวนชั้น ป.ป.ช. ซึ่งมี
ความสำคัญในคดีเป็นอย่างมาก
สมาคมจึงเห็นความสำคัญดังนี้เพื่อช่วยเหลือสมาชิก และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจึงจัดทำคู่มือขึ้นมา
เบื้องต้นให้มีทิศทาง หรือแนวทางในการทำคำให้การที่ถูกต้อง และชอบธรรม เพื่อเป็นเกราะป้องกันตัว
และองค์กร จึงหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิก ในการทำดำให้การที่ถูกต้องและครบถ้วน ตาม
ข้าพเจ้าในนามนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทยจะดำเนินการทุกสิ่ง
เพื่อประโยชน์ของคนท้องถิ่นในประเทศ โดยผ่านสมาชิก สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศ
ไทย ตามปฏิญาณที่ร่วมกันให้ไว้
ข้าพเจ้านางสาววาสนา สระทองหลาง ผู้เขียนและเรียบเรียง เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา อาจ
ไม่ได้อ้างอิงถึงวิชาการกฎหมายที่ถูกต้องทั้งหมด เนื่องจากผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ให้บุคคลทั่วไปที่ไม่มี
พื้นฐานกฎหมายอ่านและเข้าใจง่าย ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ได้พบประสบปัญหาของผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่
ท้องถิ่น ต้องโทษทั้งคดีปกครอง และคดีอาญาทุจริดและประพฤติมิชอบเป็นจำนวนมาก ผู้เขียนได้มี
โอกาสเห็นสำนวนในหลายดดี ซึ่งบางคดีไม่น่จะต้องถูกดำเนินคดีอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือ
คำสั่งทางปกครอง ให้ออกหรือให้พันจากตำแหน่งด้วยสาเหตุการไม่เข้าใจในกฎหมายระบบไต่สวน เนื่อง
ด้วยกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณากฎหมายอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นระบบไต่สวน และใน
พระราชบัญญัติกำหนดให้ศาลต้องยึดถือ สำนวน ป.ป.ช.เป็นหลักในการพิจารณาคดี จึงเป็นสาเหตุให้
ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นผิดพลาด และเข้าใจในกระบวนการพิจารณาคดีของศาลอาญาทุจริตและ
ประพฤติมิชอบ เนื่องจากผู้บริหารท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไม่ได้ให้ความสำคัญในชั้นสอบสวนของ
ป.ป.ช.เท่าที่ควร หรืออาจไม่เข้าใจวิธีการทำคำให้การ ในการเสนอข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายรวมถึง
พยานเอกสารประกอบคำให้การ เมื่อ ป.ป.ช.สรุปสำนวนชี้มูลความผิด และเสนอให้อัยการฟ้องต่อศาล
อาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ จึงเป็นการเสียโอกาสเสนอข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายรวมทั้งพยาน
เอกสารเข้ไปในสำนวน ป.ป.ช.เมื่อสำนวนเอกสารคำฟ้องขึ้นสู่ตาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ เมื่อ
กฎหมายกำหนดให้ว่าศาลจะต้องพิจารณาคดีความ ให้ยึดถือสำนวนของ ป.ป.ช.เป็นหลัก เมื่อผู้บริหาร
ท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องสู้คดีในชั้นตาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ จึงไม่อาจเสนอพยาน
เอกสารหรือพยานอื่นใดได้อีก หรือศาลอาจจะอนุญาตแต่ก็ไม่มีน้ำหนักเพียงพอ เพราะศาลท่านถือว่าได้
ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหา เสนอข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายรวมทั้งพยานเอกสารต่างๆในชั้น ป.ป.ช.เต็มที่
ฉะนั้น ข้าพเจ้าในฐานะผู้เห็นและประสบกับปัญหาดังกล่าว จึงได้เสนอต่อสมาคมองค์การ
บริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ถึงวิธีการการทำความเข้าใจการช่วยเหลือสมาชิกองค์การบริหารส่วน
ตำบล ให้ทั่วถึง ให้รวดเร็ว และถูกต้องที่สุด จึงได้จัดทำหนังสือคู่มือทำคำให้การชั้นสอบสวนของ ป.ป.ช.
เพื่อจะให้ผู้ที่ถูกกล่าวหารู้ และเข้าใจวิธีการทำดำให้การ และเสนอข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย รวมทั้งพยาน
เอกสาร และระเบียบต่าง ๆให้ถูกต้อง จึงจะเป็นการลดปัญหาผู้บริหารท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นถูก
ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดโดยไม่ถูกต้อง ตามความเป็นจริง หรือควรจะเป็น
ข้าพเจ้าในฐานะผู้เขียนและเรียบเรียง มีความประสงค์เพื่อปลดทุกข์ และบรรเทาความกังวล
เพื่อให้ท่านได้เป็นฐานรากของสังคม และประเทศต่อไป
คดีอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ
คดีเข้าสู่การพิจารณาศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ
ลักษณะของศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ
วิธีปฏิบัติของเจ้าพนักงานคดี
แบบคำเบิกความพยาน คดีอาญาระบบไต่สวน.
หนังสือเรียกหรือแจ้งให้บุคคลมาให้ข้อมูลต่อศาล
หนังสือขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและส่งเอกสาร
ตัวอย่างเอกสารชี้ช่องพยานหลักฐาน
แบบของคำฟ้องคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ.
หลักเกณฑ์การยื่นคำฟ้องคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ (มาตรา ๑ ๕)
อัยการสูงสุดหรือประธานกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์.
พนักงานอัยการหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์
การไต่สวนมูลฟ้อง และวิธีการได้สวนมูลฟ้องคดีอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ
อายุความคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
แผนผังการดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ.
ตัวอย่างรูปแบบคำให้การคดีอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ
แผนผังวิธีพิจารณาคดีปกครองในศาลปกครอง
ตัวอย่างรูปแบบใบมอบอำนาจในศาลปกครอง
ตัวอย่างรูปแบบคำให้การคดีปกครอง.
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
หน้าที่และอำนาจของค ณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริดแห่งชาติ.
นและระยะเวลาดำเนินการตรวจรับคำกล่าวหา ตามระเบียบคณะกรรมกา
และปราบปราม การทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการตรวจรับคำกล่าวหาการแสวงหาข้อเท็จจริง
และรวบรวมพยานหลักฐาน พ.ศ. ๒๕๖๐
ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน
แผนภาพแสดงกระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
สิทธิในการแก้ข้อกล่าวหาของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหา
หนังสือชี้แจงข้อกล่าวหา๑๓๘-๑๔๐
ตัวอย่างหนังสือขอชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
ดำให้การต่อ ป.ป.ช.สำคัญอย่างไร
ตัวอย่างการเขียนคำให้การ ป.ป.ช.
ตัวอย่างการขอยื่นคำให้การและนำส่งเอกสารเพิ่มเติม
กระบวนการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล
อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ป.ป.ช. มีหนังสือแจ้งให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาต้องทำอย่างไร
ป.ป.ช.แจ้งให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาต้องทำอย่างไร
เมื่อถูกชี้มูลความผิดจาก ป.ป.ช.ควรทำอย่างไร
เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดสิ่งแรกที่ ป.ป.ซช.จะทำ
อำนาจหน้าที่ในการจัดหาที่ปรึกษากฎหมายหรือทนายความในคดี.
อำนาจหน้าที่ดำเนินคดีแก้ต่างให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หารือเกี่ยวกับการจ้างทนายความว่าต่าง คดีขององค์การบริหารส่วน