About this product
ประเภทของการรับประกันการรับประกันของผู้ผลิต
Product description
✔️กำจัดโรคพืชอย่างมีประสิทธิภาพ
✔️ช่วยป้องกันโรคพืชได้อย่างมืออาชีพ
ฉีดไคโตซานมิคให้พืช = ฉีดวัคซีนพืช✨
🟢ปรับสภาพดิน และสภาพแวดล้อมบริเวณเพาะปลูก
🟢ช่วยป้องกันและยับยั้ง การเกิด เชื้อรา ไวรัส แบคทีเรีย
🟢กระตุ้นให้พืช สร้างภูมิคุ้มกันที่ต้านทานโรคพืชและแมลง
🟢ปรับสมดุลแร่ธาตุในดิน และปรับสมดุลฮอร์โมนในพืช
🟢ช่วยให้พืชสามารถดูดซึม ปุ๋ยและธาตุอาหารได้เต็มที่
🟢 ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชอย่างต่อเนื่อง
1 ขวด 500 ซีซี สามารถผสมน้ำได้ถึง 500 ลิตร
1 ขวด 500 ซีซี ใช้ได้ประมาณ 3-5 ไร่ แล้วแต่ชนิดของพืช
2. เทใส่ฝาตวงตามอัตราส่วนที่ต้องการใช้
3. เทผสมในน้ำที่เตรียมไว้
4. คนผสมให้เข้ากัน จึงนำไปใช้ได้
-สามารถใช้ร่วมกับปุ๋ยหรือสารอื่น ๆ ได้ ยกเว้นเคมีที่มีส่วนผสมของสารกลุ่มไวท์ออยล์และปิโตรเลียมออยล์ เนื่องจากจะทำให้ไคโตซานมิค เป็นเมือกและติดหัวพ่น
-ควรละลายไคโตซานมิคในน้ำก่อนทุกครั้ง
-ควรฉีดในช่วงเวลาเช้าของวัน และไม่เกิน 10:00 น.
-ไม่ควรฉีดพ่นในช่วงเวลาที่มีแดดจัด
ไคโตซานมิค ✨ช่วยยับยั้งและสร้างความต้านทานโรคให้กับพืช✨
การยับยั้งเชื้อสาเหตุของโรคพืช ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด
โดย ไคโตซานมิค จะซึมผ่านเข้าทางผิวใบ ลำต้นพืช ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพืชในกรณีที่เกิดเชื้อโรคพืชแล้ว ยังรักษาโรคพืช และสร้างความต้านทานโรคให้กับพืชที่ไม่ติดเชื้อ โดย ไคโตซาน มี คุณสมบัติที่สามารถออกฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้น ต่อพืชได้ จะกระตุ้นระบบป้องกันตัวเองของพืช
ทำให้พืชผลิตเอนไซม์และสารเคมีเพื่อป้องกันตนเองหลายชนิดพืชจึงลดโอกาสที่จะ ถูกคุกคามโดยเชื้อสาเหตุโรคพืชได้
ดังนั้น เกษตรกรจึงควรใช้ "ไคโตซานมิค" ขณะที่พืชยังเล็กหรือตั้งแต่เริ่มเพาะปลูก
-ไคโตซานจะช่วยเคลือบ เมล็ดพันธุ์หรือแช่เมล็ดพันธุ์
-ป้องกันเชื้อราที่จะมาทำร้ายเมล็ดพันธุ์
-กระตุ้นการงอกของรากของเมล็ดพันธุ์ได้ดี
-เร่งรากยาวทำให้พืชสามารถกินปุ๋ยได้มากขึ้น
ดังนั้นจึงลดปุ๋ยลง เมื่อพืชกินปุ๋ยได้มากขึ้น ก็ขยายท่อลำเลียงพืชได้ดีขึ้น ลำต้นใหญ่ขึ้นพืชจึงสมบูรณ์ทำให้เพิ่มผลผลิต ทั้งผลผลิตที่ได้ก็มีคุณภาพดี.
ป้องกันและกำจัดโรคพืช กระตุ้นให้พืชสร้างสารป้องกันโรคพืช เช่น ไฟโตอะเล็กซิน ไคติเนส รวมทั้ง ยับยั้ง RNA ของเชื้อราไม่ให้สามารถขยายพันธุ์ได้ พืชจึงแข็งแรง
พืชจะแข็งแรง มีภูมิต้านทานต่อโรคได้ด้วยตนเอง พืชจะแข็งแรงมีภูมิต้านทานต่อโรค
อนุพันธ์ของไคตินและไคโตซาน มีผลต่อการต้านทานและกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียบางประเภทที่ก่อโรคให้กับพืช
เช่น โรครากเน่า โคนเน่า ราน้ำค้าง ราข้าว โรคแคงเกอร์ โรคใบติด โรคใบจุด โรคใบส้มในนาข้าวและอื่น ๆ
ซึ่งเกิดจากโครงสร้างทางประจุ และสร้างเอนไซม์ซึ่งทำให้ย่อยสลายทำลายเชื้อราโรคพืชได้อย่างดี และยังพบว่าไคโตซานสามารถเข้าสู่เซลล์เชื้อราและทำให้เกิดการยับยั้งการสร้างและสะสมของ RNA จึงทำให้เชื้อราถูกยับยั้งการเจริญเติบโต
สารไคโตซาน สามารถควบคุมราสีเทา (gray mold) ที่เกิดจากเชื้อ Botrytis cinerea ในองุ่นและแอปเปิ้ลได้ ไคโตซาน 1% สามารถยับยั้งารงอกของสเปอร์เชื้อรา F. solani f.sp. glycine และยับยั้งการเกิดโรค sudden death syndrome (SDS) ของถั่วเหลือง
แต่ในเชื้อราบางประเภทและแบคทีเรียบางชนิดที่มีประโยชน์จะมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วเมื่อใช้อนุพันธ์ของไคตินและไคโตซาน