•พื้นที่รองรับก้นถังต้องแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักและถังน้ำ ผิวเรียบสนิทและใหญ่กว่าก้นถัง ไม่มีเศษวัสดุหลงเหลืออยู่ ได้ระดับสม่ำเสมอ ไม่เอียง หรือใช้วัสดุรองบางส่วน
•การติดตั้งในพื้นที่โล่งแจ้ง ลมพัดแรง ควรยึดตัวถังด้วยลวดสลิงร้อยในท่อรอบฝาถัง แล้วยึดกับพื้น
•ให้ติดตั้งถังในบริเวณสภาพแวดล้อมปกติ (Ambient Temperature) และสามารถเข้าดูแลรักษาได้ง่าย ห่างจากแหล่งความร้อนและสารเคมี
•การติดตั้งในที่ร่ม จะทำให้อายุการใช้งานนานขึ้น
•การต่อท่อเกลียว ให้ใช้เกลียวประปามาตราฐานเท่านั้น และใช้เทปพันเกลียวเพื่อกันซึม ไขแน่นพอตึงมือ (การไขแน่นเกินไปอาจทำให้เกิดการรั่วได้)
•ควรใช้ท่อต่อยูเนี่ยนในการต่อท่อเข้า-ออก เพื่อสะดวกในการซ่อมบำรุงในอนาคต
•การต่อท่อเข้า-ออกตัวถัง หากมีอุปกรณ์น้ำหนักมาก เช่น วาล์วที่มีน้ำหนัก ให้ใช้อุปกรณ์ค้ำยันอุปกรณ์นั้น
•กรณีระยะท่อมีความยาวมาก ๆ ต้องมีจุดรองรับเป็นช่วง ๆ ช่วงละประมาณ 50-60 ซม. และให้วางระนาบกับพื้น และอยู่ระดับเดียวกับท่อออก
•ท่อที่ทำการเชื่อมต่อกับปั๊มน้ำ หากมีการสั่นสะเทือนต้องลดการสั่นสะเทือนโดยใช้ท่อ Flex หรือทำท่อลดความสั่น
•ท่อเข้า-ออก และท่อระบายตะกอนควรติดตั้งวาล์ว เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา
•การติดตั้งลูกลอยให้ดูคู่มือของลูกลอยนั้น (ลูกลอยไม่อยู่ในการรับประกันของถัง)
•ควรติด AIRVENT เพื่อป้องกันกรณีลูกลอยเสียหาย หรือไม่ตัดน้ำ