Product description
มาตรฐานนี้กำหนดตามเกณฑ์อย่างต่ำของความปลอดภัย เพื่อให้มีการออกแบบ การติดตั้ง การตรวจสอบ และการใช้ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน ให้ผู้ใช้งานอาคารได้รับความปลอดภัยและสามารถระงับเหตุที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างรวดเร็ว
เนื่องจากมาตรฐานฯ นี้พิมพ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2545 มีการปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. 2551, 2554, 2557, 2561 ปัจจุบันเป็นฉบับ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นการปรับปรุงครั้งที่ 5 ในการอ้างอิง
นั้นให้ยึดถือชื่อ “มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน”
เป็นหลักโดยให้ถือว่า พ.ศ. ที่ต่อท้ายมาตรฐานนั้นเป็นเพียงส่วนเสริมที่ใช้แสดงปีที่จัดทำเท่านั้น ซึ่งในการอ้างอิงให้ถือตามฉบับล่าสุด นอกจากจะระบุไว้เพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น
มาตรฐานฉบับนี้มีเนื้อหาแยกเป็นส่วนของไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน, ไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน, การจ่ายไฟฟ้าและแหล่งจ่ายไฟฟ้า, การตรวจสอบและการบำรุงรักษา พร้อมด้วยภาคผนวกที่แสดงตัวอย่างใบรับรองการตรวจสอบและทดสอบ รวมทั้งตัวอย่างการออกแบบและติดตั้ง เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้งานได้จริง นอกจากนี้ยังมีระบบนำทางมาใช้เสริมในระบบหลักเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและรวดเร็วในการหนีภัยได้มากยิ่งขึ้น
มาตรฐานฉบับนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับการอบรม หรือผู้ที่มีความรู้ทางด้านการออกแบบหรือติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินเป็นอย่างดีเท่านั้น ผู้ใช้มาตรฐานฯ ควรใช้อย่างระมัดระวังและมีวิจารณญาณ กรณีที่ไม่มั่นใจควรขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินใจ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ไม่รับผิดชอบต่อทรัพย์สินส่วนบุคคลใด ๆ รวมทั้งการบาดเจ็บหรือเสียหายอื่น ๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมที่เกิดจากการเผยแพร่การใช้หรือการปฏิบัติตามมาตรฐานฯ และไม่ได้รับประกันความถูกต้องหรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใด ๆ ในมาตรฐานฯ ฉบับนี้
ภาคที่ 2 ไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน
2.2 การเตรียมการและการจดบันทึก
2.3 การให้แสงสว่างฉุกเฉิน
2.3.1 การให้แสงสว่างเพื่อการหนีภัย
2.3.2 การให้แสงสว่างสำรอง
2.4 ความส่องสว่างขั้นต่ำเพื่อการหนีภัย
2.4.1 ทางหนีภัยที่มีความกว้างไม่เกิน 2 เมตร
2.4.2 ทางหนีภัยที่มีความกว้างเกิน 2 เมตร
2.4.3 พื้นที่โล่งภายในอาคารที่ไม่มีทางหนีภัยที่ชัดเจน
2.4.4 พื้นที่งานความเสี่ยงสูง
2.4.5 พื้นที่เตรียมการหนีภัย, จุดรวมพล, ปฏิบัติการดับเพลิง, ห้องควบคุม
2.4.6 พื้นที่เก็บอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์แจ้งเหตุ
และพื้นที่เก็บอุปกรณ์ปฐมพยาบาล
2.5 ความสม่ำเสมอของการส่องสว่างและดัชนีสีที่ปรากฏทั่วไป
2.5.1 ความสม่ำเสมอของการส่องสว่าง
2.5.2 ดัชนีสีที่ปรากฏทั่วไป
2.6 ช่วงเวลาการส่องสว่างในภาวะฉุกเฉิน
2.7 การออกแบบการให้แสงสว่างฉุกเฉิน
2.7.2 การทำงานของแหล่งจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉิน
2.8 โคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน
2.8.1 โคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินชุดเบ็ดเสร็จ
2.8.2 โคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินต่อพ่วง
2.8.3 ความล้มเหลวของโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน
2.8.4 การเลือกใช้โคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน
2.9 ลักษณะการติดตั้งโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน
2.9.2 แสงบาดตาแบบไม่สามารถมองเห็นได้ (disability glare)
2.10 ระยะห่างสูงสุดระหว่างโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน
2.10.1 ระยะห่างสูงสุดสำหรับโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ชนิดติดตั้งกับฝ้าเพดาน (ปรับมุมดวงโคมไม่ได้)
2.10.2 ระยะห่างสูงสุดสำหรับโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ชนิดติดตั้งกับผนัง (ปรับมุมดวงโคมได้)
ภาคที่ 3 ไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน