เมื่อแสงส่องมายังพืช ด้านที่ได้รับแสงจะมีออกซินน้อยเพราะออกซินได้หนีไปอยู่ด้านที่มืดกว่า ด้านที่มืดจึงมีการยืดตัวและมีการเจริญเติบโตมากกว่าด้านที่รับแสง ยอดของพืชจึงโค้งเบนเข้าหาแสงจึงดูเหมือนว่าดอกทานตะวันหันหน้ามองพระอาทิตย์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งต่างจากแบบ (Negative Phototropism)ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวหาแสง เช่น หญ้าแพรก (ข้อสังเกต) ดอกทานตะวันที่มีอายุน้อยจะหันหน้าหาดวงอาทิตย์จริงแต่ดอกทานตะวันที่แก่แล้วหรืออายุมากแล้วจะไม่สนใจดวงอาทิตย์เลย ยิ่งเป็นดอกที่เหี่ยวแล้วจะไม่หันหน้าไปหาดวงอาทิตย์เลย นั่นคือวันสุดท้ายที่มันจะยังมีแรงหันหน้าไปหาดวงอาทิตย์ได้ ก็จะเป็นเวลาตอนเย็นกลางคืนทิ้งช่วงไป 12 ชั่วโมง หลังจากนั้นรุ้งเช้าดอกทานตะวันก็จะไม่หันหน้าหาดวงอาทิตย์อีก ดอกทานตะวันที่เหี่ยวสวนใหญ่จะหันหน้าไปทาง(ทิศตะวันตก) นอกเสียจากลมจะพัดแรงทำให้หันไปทิศทางอื่น