Product description
ภาพบูชา หลวงพ่อจรัญ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
รูปพิมพ์ด้วยกระดาษ 4 สี คมชัดอย่างดี 2 ด้าน
เคลือบด้วยแผ่นพลาสติกกันฝุ่นอย่างดี เหมาะสำหรับพกพาในกระเป๋าเงิน หรือ ติดไว้ในรถยนต์
ผลิตโดย สำนักพิมพ์พระพุทธศาสนาประกาศ
ประวัติหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี พร้อมอายุ-วันเกิด
สำหรับประวัติของหลวงพ่อจรัญ ชื่อเดิมคือ นายจรัญ จรรยารักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2471 เวลา 07.10 น. ปัจจุบันอายุ 87 ปี เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวน 10 คน มีบิดาชื่อ นายแพ จรรยารักษ์ และมารดาชื่อ นางเจิม สุขประเสริญ มีอาชีพเป็นชาวนา ที่ ต.ม่วงหมู่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี ได้รับการอุปสมบทเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2491 รวม 67 พรรษา ส่วนวุฒิการศึกษาสำเร็จ นักธรรมชั้นโท อดีตเป็นเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี และที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 3
ชีวิตวัยเด็กของ จรัญ จรรยารักษ์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)
วัยเด็กของเด็กชายจรัญ ถูกยาย อายุ 80 ปี ขอไปเลี้ยงอยู่เป็นเพื่อนเนื่องจากตาลาบวช โดยได้ไปอยู่ที่บ้านทรงไทยที่มีหลังบ้านติดกับลำน้ำลพบุรี และในเวลา 04.00 น. ของทุกวัน คุณยายจะตื่นขึ้นมาสวดมนต์เป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยมีเด็กชายจรัญคอยเตรียมอาหารไว้ให้ยายใส่บาตร จากนั้นสองยายหลานจะพากันไปเก็บผัก ผลไม้ เพื่อหาบไปขายในตลาด ก่อนที่เด็กชายจรัญจะไปโรงเรียน แต่ทว่าเวลานั้นเด็กชายจรัญต้องย้ายโรงเรียนบ่อยเนื่องจากไม่ตั้งใจเรียน มีนิสัยเกเร ชอบเอาเวลาไปยิงนกตกปลาและสร้างวีรกรรมไว้มากมาย จนช่วงมัธยมเด็กชายจรัญถูกโรงเรียนไล่ออกและไม่มีโรงเรียนใดใน จ.สิงห์บุรีรับเข้าเรียน ทั้งที่ยายสอนแต่สิ่งดี ๆ
ทำให้ยายต้องส่งเด็กชายจรัญไปอยู่กับปู่ ซึ่งเป็นคุณหลวงในกรุงเทพฯ และได้ไปเป็นศิษย์ดนตรีไทยของคุณหลวงประดิษฐ์ไพเราะก่อนส่งตัวต่อไปฝากฝังกับ จอมพล ป. จนได้รับการสนับสนุนให้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ แต่เมื่อเจอรุ่นพี่วางอำนาจใส่นายจรัญก็ทนไม่ได้จนมีเรื่องกับรุ่นพี่ จึงต้องลาออกจากโรงเรียนและกลับไปตั้งวงดนตรีไทยที่บ้าน
หลวงพ่อจรัญ อุปสมบท ได้รับฉายาว่า "ฐิตธมฺโม"
จนกระทั่งครบอายุบวช ยายก็ได้ให้นายจรัญอุปสมบทเมื่อปี 2491 ที่วัดพรหมบุรี โดยมีพระพรหมนคราจารย์ เจ้าอาวาสวัดแจ้งพรหมนครเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูถาวรวิริยคุณ วัดพุทธารามเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านได้รับฉายาว่า "ฐิตธมฺโม" ทั้งที่ขณะนั้นนายจรัญเกลียดพระสงฆ์เพราะเจอพระทุศีลใช้ผ้าเหลืองหากิน และเมื่อครบกำหนดสึกท่านได้เตรียมตัวสึกแต่ก็เลื่อนสึกถึง 3 ครั้ง จนสมภารวัดบอกว่าไม่สึกให้แล้ว หากคิดจะสึกก็ให้ไปวัดอื่น ท่านจึงออกเดินทางไปนมัสการพระพุทธชินราชเพื่อตั้งใจให้พระที่นั่นสึกให้ แต่ระหว่างทางได้เจอโยมที่กำลังเดินทางไปนมัสการหลวงพ่อเดิม ที่ จ.นครสวรรค์ ท่านจึงได้เดินทางไปด้วย เมื่อไปถึงก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทฺธสโร) ซึ่งท่านก็ได้สอนวิชาคชศาสตร์ให้ ซึ่งมีเพียงหลวงพ่อจรัญเพียงคนเดียวที่ได้เรียน รวมถึงวิชาคาถาอื่น ๆ จนท่านไม่ได้สึกอย่างที่ตั้งใจและคิดว่าคงต้องครองสมณเพศไปตลอด
นอกจากนี้หลวงพ่อจรัญยังได้ศึกษาวิชากับอาจารย์ท่านอื่น ๆ อีก เช่น พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี ธมมฺธโร) และพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) จ.ขอนแก่น ต่อมาได้ศึกษาการทำเครื่องรางของขลัง น้ำมันมนต์ กับหลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่าง จ.พระนครศรีอยุธยา และหลวงพ่อสนั่น วัดเสาธงทอง จ.อ่างทอง, หลวงพ่อจาด วัดบ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี และได้ศึกษา สมถกรรมฐาน กับพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ อ.ภาษีเจริญ จ.ธนบุรี และศึกษาและปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน กับพระราชสิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ รวมทั้งได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาพระอภิธรรมกับอาจารย์เตชิน (ชาวพม่า) ที่วัดระฆัง จ.ธนบุรี และศึกษาการพยากรณ์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศ กรุงเทพฯ และศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้วิทยาศาสตร์ทางจิตกับ อาจารย์ พ.อ. ชม สุคันธรัต
ในที่สุดเมื่อท่านมีวิชาความรู้มากพอทางคณะสงฆ์ก็ได้ให้หลวงพ่อจรัญไปเป็นเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดโบราณ ทรุดโทรม มีเพียงพระบวชจำพรรษาเพียง 2 รูป โดยหลวงพ่อได้เข้าไปพัฒนาและได้สอนกรรมฐานคติธรรมจนเป็นประโยชน์แก่คนมากมาย