ดิน (Soil) คือ วัตถุตามธรรมชาติบนพื้นผิวโลก ที่ประกอบด้วย
1. อนินทรีย์วัตถุ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต เช่น หิน และแร่ต่างๆ ที่ผุพังสึกกร่อนจากทางกายภาพ และทางเคมี และมีขนาดไม่เกิน 2 มิลลิเมตร
2. อินทรีย์วัตถุ ที่เกิดการเน่าเปื่อยหรือย่อยสลายของสิ่งมีชีวิต เช่น พืช สัตว์ โดยถูกย่อยสลายจากจุลินทรีย์ดิน แบคทีเรีย เห็ดราไส้เดือน กิงกือ หรือแมลงที่อาศัยในดิน ถ้ายังมีโครงสร้างอินทรีย์ที่ซับซ้อนอยู่เรียก ฮิวมัส (humus) และถูกจะถูกย่อยสลายเพิ่มเป็นจุลธาตุ ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ต่อไป
3. น้ำในดิน อาจอยู่ในรูปสารละลาย ที่แทรกตัวระหว่างเม็ดดิน หรือถูกดูดซับโดยอนุภาคดิน
4. อากาศในดิน คือ ก๊าซต่างๆ เช่น ไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่นๆ ที่แทรกอยู่ระหว่างเม็ดดินที่ไม่มีน้ำแทรกอยู่
ประเภทดิน (Soil Types)
- ดินเหนียว (Clay Soil) มีเนื้อแน่นและเอียดมาก มักจับตัวเป็นก้อน มีน้ำหนักมาก ประกอบด้วยสารอนินทรีย์ และอินทรีย์ และมีขนาดอนุภาคดินน้อยกว่า 0.002 mm. ทำให้ระบายน้ำและอากาศไม่ดี มีอากาศแทรกตัวระหว่างเม็ดดินน้อย และอุ้มน้ำได้ดี เมื่อมีส่วนผสมของน้ำที่เหมาะสมจะสามารถปั้นเป็นก้อนทำเครื่องปั่นดินเผาภาชนะ หรืองานปั้นประติมากรรมได้ เหมาะสำหรับปลูกพืชที่ต้องการน้ำมาก เช่น ข้าว ต้นกก หรือพืชน้ำ เช่น บัว
- ดินทราย (Sandy Soil) มีเนื้อหยาบ ไม่จับตัวเป็นก้อน น้ำหนักเบา ประกอบด้วยสารอนินทรีย์ หรือทรายมากกว่า 85% และมีขนาดอนุภาคดิน 0.05-2 mm. ทำให้ระบายน้ำและอากาศได้ดี มีอากาศแทรกตัวระหว่างเม็ดดินมาก แต่เก็บน้ำได้น้อย และมีความอุดมสมบูรณ์ในดินต่ำ เหมาะสำหรับปลูกพืชที่ต้องการน้ำน้อย ตัวอย่างพืชทะเลทรายเช่น กระบองเพชร พืชล้มลุกเช่น ถั่ว พืชยืนต้นเช่น กระถิ่น พืชหัวเช่น มันสำปะหลัง แครอท ไม้เลือยเช่น ถั่วฝักยาว มะระ แตงกว่า ผักสวนครัวเช่น คะน้า ผักกาดหอม ข้าวโพด และมะเขือเทศ ถ้าให้น้ำเพียงพอ
- ดินตะกอน (Silt Soil) มีเนื้อ น้ำหนัก และคุณสมบัติอยู่ระหว่างดินทรายและดินเหนียว และมีอนุภาคดิน 0.002-0.05 mm ระบายน้ำและอากาศได้ช้ากว่าดินทราย เก็บน้ำได้มากกว่าดินทราย แต่น้อยกว่าดินเหนียว
- ดินร่วน (Loam Soil) ประกอบด้วย ดินเหนียว ดินทราย ดินตะกอน และมักมีฮิวมัสทำให้ดินอุดมสมบรณ์ มีอนุภาคดินไม่เกิน 2 mm. มีการระบายน้ำและอากาศได้กลาง รวมทั้งกักเก็บน้ำและอากาศระหว่างอนุภาคได้เหมาะสม ทำให้เหมาะสมในการปลูกพืชสวน พืชไร พืชเศรษฐกิจ ผัก ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ หรือสมุนไพรต่างๆเกือบทุกชนิด
พีเอสของดิน (Soil pH)
ค่า pH ของดิน คือการวัดค่ากรด หรือด่างของดิน ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงแร่ธาตุ และสารอาหารต่างๆในดินที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ รวมทั้งมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในดิน และระบบนิเวศในดินด้วย พืชส่วนใหญ่จะเจริญเติบโตได้ในดินที่มีความเป็นกรดอ่อน หรือค่า pH 6.0-7.0 ซึ่งเป็นช่วงที่ธาตุอาหารในดินที่เหมาะสมกับพืชส่วนใหญ่ พืชที่สามารถปลุกได้ในดินเป็นกรด ได้แก่ เฟิร์น พืชตะกูลเบอรี่
- ดินที่มีความชื้นเหมาะสม และมีความสมดุลของธาตุอาหารพืช จะมีค่า pH เท่ากับ 6.5-7.5 เป็นค่ากลาง
- ดินที่มีค่า pH 8.5-10 จะจัดว่าเป็นเค็มจัด หรือดินด่างจัด
- ดินที่มีค่า pH 7.5-8.5 จะจัดว่าเป็นเค็ม หรือดินด่าง
- ดินที่มีค่า pH 6.5-5.5 จะจัดว่าเป็นดินเปรียว หรือดินกรด
- ดินที่มีค่า pH 5.5-4.0 จะเรีียกว่าดินเปรียวจัด หรือดินกรดกำมะถัน
การปรับค่าพีเอสของดินให้เหมาะสมต่อพืช
1. ปรับสภาพดินที่เป็นกรด
- ใส่ปูขาว ปูนมาร์ล หินปูนบด โดโลไมท์ ทิ้งไว้ 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้ปูนละลายน้ำลดความเป็นกรดของดิน
- เลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพดินที่เป็นกรด
- ลดการใช้ปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน
2. ปรับสภาพดินที่เป็นด่าง
- ใส่กำมะถัน หรือยิปซั่ม ผสมลงในดิน เพื่อทำปฎิกิริยาในดินลดความเป็นด่าง
- เลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพดินที่เป็นด่าง
- ใส่อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยมูลไส้เดือน ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยพืชสด หรือน้ำหมัก