About this product
ภาษาไทย
ประเภทของฉบับฉบับปกติ
ประเภทของปกหนังสือปกอ่อน
ผู้เขียนภาสุรี ลือสกุล
ปี2566/2023
ISBN/ISSN978-616-407-852-9
จำนวนหน้า258
ผู้พิมพ์โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Product description
หนังสือ วรรณกรรมลาตินอเมริกา 5 ศตวรรษ: พื้นที่ ชนชายขอบ และจินตนาการ
ลาตินอเมริกาเป็นพื้นที่ที่มีพื้นฐานร่วมกัน 2 ประการ คือ การใช้ภาษาตะกูลโรมานซ์ร่วมกัน อันได้แก่ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน และภาษาโปรตุเกส และการมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน คือ การตกเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจในยุโรปอย่างสเปน และโปรตุเกส ก่อนจะการต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมและประกาศอิสรภาพ แม้ลาตินอเมริกาจะเป็นผืนทวีปที่มีความเป็นมาและภาษาร่วมกัน แต่ก็เป็นดินแดนแห่งความหลากหลาย ซึ่งเป็นผลมาจากภูมิประเทศที่แตกต่างกันทั้งทวีป และผู้คนที่มีทั้ง ชาวสเปน ชาวพื้นเมือง ชาวแอฟริกา และเหล่าลูกผสมที่เกิดการผสมข้ามไปมาระหว่างชาวพื้นเมือง ชาวยุโรป และชาวแอฟริกา
วรรณกรรมลาตินอเมริกา 5 ศตวรรษ: พื้นที่ ชนชายขอบ และจินตนาการ โดย ภาสุรี ลือสกุล จะพาผู้อ่านไปรู้จักกับอเมริกาใต้ ผ่านวรรณกรรมของชาวลาตินอเมริกา งานวรรณกรรมที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น และเป็นเครื่องสะท้อนความคิด รวมไปถึงวัฒนธรรมของผู้คนในพื้นที่อเมริกาใต้ หนังสือเล่มนี้จะเน้นศึกษาจากกลุ่มผู้ใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก
ความตระการตาทางธรรมชาติของทวีปอเมริกาใต้ ประกอบกับความแปลกใหม่สนธยาที่ชาวสเปนไม่เคยพบเจอมาก่อน บันดาลใจให้เหล่านักสำรวจจากยุโรปรังสรรค์งานเขียนประเภทบันทึกประวัติศาสตร์ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของ “โลกใหม่” ที่น่าตื่นตะลึง นับเป็นจุดเริ่มต้นของวรรณกรรมในลาตินอเมริกา
ภายหลังชาวสเปนพิชิตโลกใหม่ และนำอารยธรรมตะวันตกเข้ามายังพื้นที่อเมริกาใต้ “ชาวพื้นเมืองอเมริกา” ผู้อาศัยในทวีปนี้ก่อนการมาของชาวยุโรป และผู้พ่ายแพ้ต่อความยิ่งใหญ่ของมหาอำนาจยุโรป ก็เริ่มบันทึกเรื่องราวที่เล่าขานกันจากคนก่อน รวมไปถึงสร้างสรรค์งานเขียนเพื่อรักษาตัวตนท่ามกลางการถาโถมเข้ามาของวัฒนธรรมจากต่างถิ่น และบอกเล่าเรื่องราวของชาวพื้นเมืองที่ต้องใช้ชีวิตท่ามกลางโลกที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมของคนต่างที่ กลายเป็นจุดเริ่มของงานวรรณกรรมลาตินอเมริกาที่เสกสรรค์ขึ้นด้วยมือของชาวพื้นเมือง
การเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากความสมบูรณ์ของแผ่นดินลาตินอเมริกา ทำให้เกิดการนำเข้าทาสผิวสีจากแอฟริกาจำนวนมาก ความรุนแรงที่เหล่านายทาสปฏิบัติต่อชาวแอฟริกา ก่อให้เกิดงานเขียนของชาวยุโรปที่ต้องการเป็นกระบอกเสียงแก่ทาสที่ถูกกระทำอย่างไร้มนุษยธรรม ตามมาด้วยวรรณกรรมของทาสผิวสีที่ต้องการใช้โลกน้ำหมึกสะท้อนมุมมองต่อสิ่งรอบตัว และความไม่เป็นธรรมที่ตัวเองได้รับจากผู้กดขี่
แม้ลาตินอเมริกาจะเป็นภูมิภาคที่เกลียดชังการกดขี่จากเจ้าอาณานิคม และนายทาส แต่วัฒนธรรมอเมริกาใต้ยังให้ความสำคัญกับเพศชายเป็นหลัก และยังถือว่าผู้หญิงควรเป็นเพียงแค่แม่บ้านหรือภรรยาที่ดีผู้เชื่อฟังสามี ผู้หญิงชาวอเมริกาใต้จำนวนหนึ่งจึงใช้พื้นที่บนหน้ากระดาษสะท้อนความคิดและเสียงของผู้เรียกร้องความเท่าเทียม ก่อให้เกิดงานวรรณกรรมกลุ่มสตรีนิยมที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและกระจายเสียงของพวกเธอให้โลกรับรู้
นับตั้งแต่ประกาศอิสรภาพจากเจ้าอาณานิคม นักเขียนชาวอเมริกาใต้ต่างพยายามแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการรังสรรค์งานวรรณกรรมที่แหวกแนวไปจากวัฒนธรรมของเจ้าอาณานิคมสเปน นำมาซึ่งการทดลองเรียนรู้วัฒนธรรมงานเขียนจากชาติอื่น ๆ และสร้างสรรค์งานเขียนที่เป็นตัวของตัวเองออกมา หนึ่งในแนวการสร้างงานที่เป็นเอกลักษณ์ของวรรณกรรมลาตินอเมริกา คือ งานวรรณกรรมกลุ่ม “สัจนิยมมหัศจรรย์” ที่ผสมผสานระหว่างเรื่องราวของโลกแห่งความเป็นจริง กับโลกแฟนตาซีได้อย่างน่าทึ่ง จนผู้อ่านคิดว่าเรื่องแฟนตาซีได้เกิดขึ้นบนโลกแห่งความเป็นจริง และนำไปสู่การตั้งคำถามเกี่ยวกับโลก และชีวิตรอบตัว
วรรณกรรมลาตินอเมริกา 5 ศตวรรษ: พื้นที่ ชนชายขอบ และจินตนาการ
ผู้เขียน
ภาสุรี ลือสกุล
สำนักพิมพ์
โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีที่พิมพ์
2566 พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง (พิมพ์ครั้งแรกปี 2565)
จำนวนหน้า
258 หน้า
ขนาด
12x20 cm
กระดาษ
ถนอมสายตา
การพิพม์
4 สี
ISBN
978-616-407-852-9
สภาพหนังสือ
หนังสือใหม่
ราคาหน้าปก
220 บาท