About this product
ภาษาไทย
ประเภทของฉบับฉบับปกติ
ประเภทของปกหนังสือปกอ่อน
ผู้เขียนมณฑา พิมพ์ทอง
ISBN/ISSN974-13-3300-5
จำนวนหน้า184
ผู้พิมพ์โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Product description
หนังสือ ปัญหาของสตรีญี่ปุ่น: ภาพสะท้อนจากวรรณกรรมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ญี่ปุ่นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงที่มีการปรับรัฐธรรมนูญและระบอบการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นภายหลังการถูกยึดครองโดยสหรัฐอเมริกาในฐานผู้แพ้สงคราม สิ่งที่สำคัญมากอย่างหนึ่งในรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นหลังสงครามโลก คือ การรับรองสิทธิในการทำงานอย่างเสมอภาคของทั้งเพศหญิงและเพศชายในมาตราที่ 27 ของรัฐธรรมนูญ และการออกกฎหมายรับรองความเสมอภาคในที่ทำงานของทั้ง 2 เพศในปี 1986
พร้อมกันนั้น ผู้หญิงในสังคมญี่ปุ่นก็เปลี่ยนบทบาทจากการเป็นแค่แม่บ้าน มาเป็นแรงงานหรือพนักงานบริษัทในทุกระดับมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการแรงงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในช่วงหลังสงคราม ทำให้ผู้หญิงมีพื้นที่ในสังคมญี่ปุ่นมากขึ้นกว่ายุคก่อน ๆ
อย่างไรก็ตาม แม้สังคมญี่ปุ่นช่วงหลังสงครามโลกจะเป็นช่วงเวลาแห่งการพัฒนาและการเป็นประชาธิปไตย ก็ยังมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยต้องพบเจอกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากกรอบ ซึ่งสังคมที่เธออยู่ได้วางไว้ให้ เช่น การต้องถูกทิ้งให้ดูแลคนชราเพียงลำพัง จนพวกเธอไม่อาจไปไขว่คว้าชีวิตที่พวกเธอปรารถนาได้ การกลายเป็นส่วนเกินของครอบครัวเพราะเป็นหญิงชรา การมีสามีที่เอาแต่กินเหล้า เล่นการพนัน และไม่สนใจภรรยากับลูก ๆ หรือ การกลายเป็นเจ้านายที่ลูกน้องไม่ยอมรับเพราะตัวเองเป็นผู้หญิง
ปัญหาของสตรีญี่ปุ่น: ภาพสะท้อนจากวรรรกรรมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย มณฑา พิมพ์ทอง ได้เล่าประสบการณ์ของผู้หญิงญี่ปุ่นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต้องประสบพบเจอกับปัญหาหลายประการผ่านงานวรรณกรรมร่วมสมัย ที่เหล่านักสตรีใช้โลกน้ำหมึก สะท้อนปัญหาที่พวกเธอพบเจอ รวมไปถึงความคาดหวังที่พวกเธอมีต่อสังคม
ปัญหาของสตรีญี่ปุ่น: ภาพสะท้อนจากวรรณกรรมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ผู้เขียน
มณฑา พิมพ์ทอง
สำนักพิมพ์
โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีที่พิมพ์
2547
จำนวนหน้า
184 หน้า
ขนาด
12x20 cm
กระดาษ
ปอนด์ขาว
การพิพม์
ขาวดำ
ISBN
974-13-3300-5
สภาพหนังสือ
หนังสือเก่า (กระดาษเหลืองจากการจัดเก็บ)
ราคาหน้าปก
165 บาท